วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 
การทดสอบการออกอากาศในระบบดิจิตอล ส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงระบบ Second Generation Digital Terrestrial Television Broadcasting System (DVB-T2)  มี 2 ช่องคลื่น  คือ ช่อง 36 กับ ช่อง 40    ช่องคลื่น 36 ออกอากาศที่ช่อง   ความถี่ 594.0 MHz   มี 8 ช่อง เป็นช่องความละเอียดสูง (HD) 2 ช่องโดย  THAI PBS และ TV5  และ อีก 6 ช่องเป็นช่องความละเอียดปกติ (SD) โดย THAI TPBS, TV 5, TV 9,  NBT, TV 3 และ TV 7  โดยแพร่กระจายสัญญาณโดย TV 5 ผ่านเสาส่งของ THAI PBS ที่ตึกใบหยก 2 ประตูน้ำ  ติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์ออกอากาศระบบ DVB-T2 ( UHF DVB-T2 Transmitters ) ช่อง 36 โดยมี ขนาดของเครื่องส่งโทรทัศน์ 5 KW (rms)  สามารถส่งได้ไกล 200 กิโลเมตร   และช่อง อสมท. ช่องคลื่น 40 ความถี่ 626.0 MHz ออกอากาศจำนวน 5 ช่อง เป็นความละเอียดปกติ  4 ช่องรายการ เป็นความละเอียดสูง 1 ช่องรายการ 

การทดลองส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ขณะนี้มี อสมท. ทดลองส่งสัญญาณอยู่ 1 คลื่นความถี่ 5  ช่อง โดยนำรายการที่ส่งแพร่สัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM  ได้แก่ รายการของความถี่  FM 95, FM 96.50 MHz, FM 97.50 MHz, FM 99.00 MHz, FM 100.50 MHz และFM 107.00 MHz
ภาพที่ 1 แสดงเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์  ระบบ DVB-T2
 
 
 

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล


   ตามที่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ข้อ ๘.๕ และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ข้อ ๕.๖ กำหนดให้มีแผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอลภายใน ๑ ปี
   บัดนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายและจัดทำแผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล โดยมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๕ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เห็นชอบให้ประกาศแผนการเปลี่ยนระบบ การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล ตามความในข้อ ๘.๕ ของแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕) และข้อ ๕.๖ ของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญตามที่แนบท้ายนี้


จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

พันเอก นที ศุกลรัตน์
ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


รายละเอียดของประกาศ
แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล

ความตอนหนึ่ง ในประกาศดังกล่าว

   ในคราวประชุม AMRI ครั้งที่ ๙ ที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้มีมติให้กลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียนใช้ระบบ Digital Video Broadcasting-Terrestrial (DVB-T) เป็นมาตรฐานสำหรับโทรทัศน์
ระบบดิจิตอลร่วมกัน ต่อมาในการประชุม AMRI ครั้งที่ ๑๐ ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ได้มีการกำหนดกรอบเวลาสำหรับการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก
ร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Analogue switch-off (ASO) คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๓

   รวมถึงจะกำหนดมาตรฐานสำหรับกล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) ร่วมกัน เพื่อให้อุปกรณ์มีราคา
ที่ถูกลง และในการประชุม AMRI ครั้งที่ ๑๑ ที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มี
ความเห็นร่วมกันว่ามาตรฐานระบบ Second Generation Digital Terrestrial Television
Broadcasting System ( DVB-T2 ) มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหนือกว่าระบบ DVB-T จึงควรที่
ประเทศสมาชิกจะเลือกใช้
DVB-T2 เป็นมาตรฐานร่วมกัน



ระบบที่ได้ตกลงใช้ร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนคือ  DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบที่ได้พัฒนาต่อจาก DVB-T มาแล้วที่ได้ใช้ในยุโรป  เพียงนำไปต่อขั้นจากสายนำสัญญาณที่ก่อนนำเขาเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนสายอากาศแต่อย่างใด  หากแต่ว่าสายนำสัญญาณยังปกติเท่านั้นพอ   สำหรับสายอากาศบางชนิดก็มีผลต่อการรับสัญญาณด้วย


ภาพที่ 2 แสดงหน้าเมนูการตั่งค่าของเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์  ระบบ DVB-T2
การรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลนั้นต้องทำความเข้าใจว่าแตกต่างจากระบบอะนาล๊อกอย่างสิ้นเชิง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ อาทิ จำนวนช่องรายการต่อความถี่ที่ใช้ได้  ความคมชัดของสัญญาณภาพและเสียง  หากการรับสัญญาณระบบดิจิตอลจะมี 2 แบบ 0 1   คือ รับไม่ได้ กับ รับได้     จะไม่มีแบบภาพที่มีภาพเป็นเงา

การรับสัญญาณภาพในปัจจุบัน  สามารถกระทำได้โดย 1. ซื้อเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล  ที่รองรับระบบ DVB-T2  แต่เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ในต่างประเทศปัจจุบันเป็นดิจิตอลกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว  พอกลับมาดูของประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้เปลี่ยนถ่ายไปเป็นดิจิตอล  เครื่องที่จำหน่าย ผู้ผลิตจึงยังต่องเอาชุดเครื่องรับอะนาล๊อกใส่ไว้เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ถึงแม้ระบบจอภาพและเสียงจะรองรับระบบดิจิตอลก็ตาม  จึงขึ้นอยู่ว่าการเปลี่ยนผ่านจากอะนาล๊อกไปสู่ดิจิตอลจะรวดเร็วเพียงใด
2 ใช้ กล่องรับสัญญาณ Set Top Box เพื่อแปลงสัญญาณภาพ แล้วต่อสัญญาณที่แปลงแล้วเข้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์อีกทีหนึ่ง  การทงานของกล่องรับสัญญาณก็จะเป็นตัวรับสัญญาณภาพและแปรสัญญาณภาพและเสียง แล้วจึงส่งให้โทรทัศน์อีกทีหนึ่ง   จึงคล้ายๆกับกล่อง Set Top Box  ที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียม  เครื่องโทรทัศน์จึงใช้เป็นแค่เพียง จอ  กับ ลำโพงเท่านั้น




ภาพที่ 3  แสดงตัวอย่างสายอากาศเพื่อใช้รับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล
 

สายอากาศ (Antenna) นั้นสามารถใช้ของเดิมได้  เพียงแต่ต้องมีสภาพการใช้งานต่อได้ และต้องเป็นสายอาศที่ใช้รับสัญญาณ UHF ได้ด้วย เพราะของไทยจะใช้ย่าน UHF  โดยระบบดิจิตอล จะใช้ VHF  ย่าน  UHF   และ SHF   แต่ตอนนี้มีการทดลองในย่านความที่ที่เป็นย่าน  UHF เพื่อส่งกระจายคลื่นวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล  และส่งกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอล ทดลองในความถี่ย่าน VHF

สายอากาศ(Antenna)  หรือที่บางคนเรียกผิดเป็นว่า  เสาอากาศ  และเข้าใจว่าสายอากาศเป็นสายนำสัญญาณ  การที่จะเลือกใช้สายอากาศ (Antenna) คำนึงถึงพื้นที่ของเราด้วยว่าอยู่ใกล้ หรือไกลจากสายอากาศ เสาส่ง หรือสายอากาศ เสาส่งของสถานีทวนสัญญาณ  หากอยู่ใกล้ก็ใช้สายอากาศ(Antenna) ชนิดหนวดกุ้ง ก็ใช้ได้แล้ว หากมีอาคารบดบังก็จำเป็นต้องใช้ สายอากาศชนิดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น ชนิด Yagi  เป็นต้น   ถึงแม้จะใช้ชนิด Yagi แล้วแต่ยังมัปัญหา  บางแบบเหมาะสำหรับระยะไกล (100 กิโลเมตรขึ้นไป) แต่ไม่เหมาะกับระยะใกล้ (ไม่เกิน 100โมเมตร)  บางชนิดเหมาะสำหรับระยะปานกลาง  ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย  หลายครั้งที่ผู้จำหน่ายไม่ทราบก็จะเป็นผลเสียกับการรับชมด้วย 


การเลือกใช้สายนำสัญญาณ ปัจจุบันก็จะใช้สายนำสัญญาณ ชนิด  75Ω   RG-6U ซึ่งเป็นสาย  COAXIAL CABLE ชนิดหนึ่ง    "RG-6U"   RG ย่อมาจาก RADIO GUIDE ส่วนตัว U ก็คือ UNIVERSAL หมายถึงการใช้งานทั่วไป บางเอกสาร U=UTILTY หมายถึงตัวเลขตามหลัง เช่น 64, 128 , 144 เส้น   โดยทั่วไปสาย RG-6/U ที่ใช้กันทั่วไปก็ชิลค์ 64 เส้น คุณภาพสูงขึ้นก็ 128 เส้น


Digital TV  ทำงานอย่างไร   ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่  Digital TV มันส่งสัญญาณเป็น Digital เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่มีการบีบอัดข้อมูลให้สามารถส่งข้อมูลได้ดีขึ้น  ทำให้การผิดพลาดลดลง

Digital TV ใช้ใน TV ดาวเทียมมาก่อนภาคพื้นดิน เพราะความถี่นั้นเป็นของผู้ให้บริการดาวเทียม จึงสามารถดำเนินการได้ไวกว่าภาคพื้นดิน  และ โทรศํพท์บอกรับสมาชิกผ่านสาย (Cable TV) แต่ละประเทศก็จะใช้ระบบต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค  แต่ประเทศไทยและอาเชี่ยนเลือกที่จะใช้ DVB ซึ่งเป็นมาตราฐานของยุโรป ซึ่งมีประเทศผู้ใช้ระบบมากที่สุด

ระบบ Digital TV ก็จะมีระบบแบ่งออกดังนี้   DVB ยุคแรก แบ่งเป็น DVB-S (ดาวเทียม), DVB-C (เคเบิ้ล), DVB-T (ออกอากาศภาคพื้น) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น