วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

20 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทีวีดิจิตอล (หรือเรียกให้ถูกต้องว่า "ดิจิตอลทีวี") ทึประชาชนทั่วไปน่าจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ

1. ทีวีดิจิตอล สามารถใช้เสาอากาศแบบเดิมที่ใช้กับ 3,5,7,9,11,NBT,TPBS เหมือนในปัจจุบันได้ แต่ถ้าใครถอดออกไปแล้วก็ไม่ต้องรีบซื้อ เพราะสามารถใช้เสาอากาศแบบ หนวดกุ้งได้เช่นกัน

2. สายอากาศ สำหรับทีวีดิจิตอล สามารถใช้แบบ ในบ้าน(หนวดกุ้ง) หรือ นอกบ้านก็ได้  เพราะการส่งระบบดิจิตอลมีแต่รับได้ กับรับไม่ได้เพราะระบบดิจิตอลคือ ( 0 กับ 1 ) จะไม่มีภาพเป็น ลายๆ เหมือนในทีวีระบบเก่า

3. ทีวีดิจิตอล แพร่ภาพ โดยการส่งสัญญาณภาพในคลื่นความถี่ได้ ใน SHF VHF และ UHF  แต่ที่ไทยดำเนินการเปลี่ยนผ่านจะรับสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น ไม่ต้องใช้สายอากาศที่เป็นแผงใหญ่เหมือนระบบเก่า  VHF  ใช้สายอากาศที่เป็นแผงเล็กๆ ที่รับช่อง Thai TPBS กับ ช่อง 3 (ในระบบ UHF) ได้ก็สามารถรับระบบทีวีดิจิตอลได้เหมือนกัน  (แต่พื้นที่ มีความห่างจากเสาส่ง 100 กิโลเมตร ก็จำเป็นต้องเลือกตัวสายอากาศที่มีแผงยาวใหญ่ หรือ แบบที่พอเหมาะกับพื้นที่นั้นๆ เพียงแต่หน้ากว้างจะแค่กว่า  หากมีของระบบเก่า ก็ไม่จำเป็นต้องเอาลง เพราะเมื่อเปลี่ยนผ่านหมดแล้ว  ระบบอะนาล๊อคก็ต้องปิดตัวลง  ความถี่เหล่านั้นก็จะว่าง กสทช. ก็จะเอามาจัดสรรให้แพร่ภาพ ในระบบดิจิตอลได้  สายอากาศ แผงใหญ่ก็จะใช้ได้ (ถ้ามีอยู่แล้ว  ก็ใช้ของเดิม  ไม่ต้องทำอะไร   เว้นแต่  สายนำสัญญาณหมดอายุไข  ก็ต้องซ่อมแซม)

4. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้ โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2 หากทีวีของท่านมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก

5. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ( Mpeg4 ) ดังนั้น ถ้ากล่องเป็นระบบ DVB-T ( Mpeg2 ) จะรับสัญญาณไม่ได้ (แต่ที่ทำขาย ณ.ปัจจุบันน่าจะเป็น Mpeg4 กันหมดแล้ว)

6. ทีวีระบบเก่า เอาสายจากเสาอากาศมาต่อที่ทีวีได้เลย แต่ ระบบเครื่องรับทีวีของไทยยังไม่รองรับระบบดิจิตอล จึงต้องมีกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 เช่นเดียวกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะต่อเข้าทีวีอีกที

7. กสทช มีกฎว่า ทุกช่องที่ออกอากาศทีวีดิจิตอล ต้องส่งผ่านดาวเทียมได้ด้วย ดังนั้น ใครมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอยู่แล้วไม่ว่ายี่ห้อใดๆ สามารถรับได้แน่นอน เพียงแต่ช่องใหนที่เป็นช่อง HD ก็ต้องใช้ทีวีที่รองรับช่อง HD ได้ด้วยจึงจะสามารถรับได้!

8. ทีวีดิจิตอล ส่งสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น แต่ละพื้นที่โดยเฉพาะต่างจังหวัด จะรับสัญญาณได้ไม่เท่ากัน พื้นที่ใดสัญญาณอ่อนต้องมีเสาในการทวนสัญญาณ เพื่อให้แต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการรับชม  โดยความถี่จะเหมือนกันทั้งจากเสาสถานีส่ง และจากเสาสถานีทวนสัญญาณ ซึ่งต่างจะอะนาล๊อคที่ความถี่ใช้เหมือนกันไม่ได้

9. ทีวีดิจิตอลจะมีข้อดี ตรงที่ไม่ต้องติดจานดาวเทียม ซึ่งเข้าถึงบ้านเรือนทั่วไปได้มากกว่าการติดจานดาวเทียม

10. ทีวีดิจิตอล สามารถใช้ร่วมกับเครื่องรับแบบอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น DVB-T2+DVD , DVB-T2+ Android , DVB-S2+DVB-T2 , DVB-T2 for Car , …….

11. ทีวีระบบดิจิตอลในรถยนต์ ภาพก็จะชัดเหมือนติดจานดาวเทียมบนรถ ไม่มีภาพจะล้มเวลาผ่าน ต้นไม้ หรือ สิ่งกีดขวางต่างๆ และไม่ต้องห่วงเรื่องโดนขโมยจานที่ติดบนหลังคา (ใช้แค่เพียงเสาอากาศเล็กๆ)

12. ทีวีดิจิตอล แต่ละประเทศใช้ระบบไม่เหมือนกัน หากนำทีวี หรือ อุปกรณ์อื่น เข้ามาใช้คนละระบบกับของไทย ก็จะใช้ไม่ได้ เช่น ของอเมริกา ใช้ระบบ ATSC , ของญี่ปุ่นใช้ระบบ ISDB-T , ของจีนใช้ระบบ DTMB (แต่ถ้าจะแก้ไข ก็ต้องต่อกล่องแปลงผ่าน SET TOP BOX ในระบบ DVB-T2)

13. ทีวีดิจิตอล สามารถดูผ่าน สมาร์ทโฟน ต่างๆ หรือ แทบเล็ตได้ ขึ้นอยู่กับ App หรือ ฟังก์ชั่นของเครื่องด้วย

14. ทีวีดิจิตอล จะได้เปรียบทีวีดาวเทียม คือ หากมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาสำคัญๆ ทีวีดาวเทียมจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด จึงทำให้จอดำ แต่ทีวีดิจิตอล สามารถรับได้ปกติ เพราะเป็นระบบ free tv แบบเดียวกับการใช้เสาหนวดกุ้ง (ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด) และไม่มีปัญหาการรับชม เวลาฝนตก

15. กสทช กำหนด ให้ ทีวีดิจิตอลมี 48 ช่อง โดยที่มีทีวีท้องถิ่นของชุมชน 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทีวีสำหรับภาคธุรกิจ 24 ช่อง โดยใน 24 ช่องนี้ 17 ช่องจะเป็นมาตรฐานปกติ (SD) และอีก 7 ช่องเป็นมาตรฐานความคมชัดสูง (HD)

16. ปีแรกโครงข่ายจะครอบคลุมพื้นที่แค่ 50% เท่านั้น ปีที่ 2 จะครอบคลุม 80% ปีที่ 3 จะครอบคลุม 90%

17. กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ที่จะนำคูปองมาเป็นส่วนลดได้ ต้องได้การรับรองคุณภาพจาก กสทช

18. ทีวีดิจิตอลในระยะเริ่มแรกจะมีปัญหาในการส่งสัญญาณ ดังนั้น ชั่วงแรก อาจรับสัญญาณยังไม่ได้ครอบคลุม ทั่วประเทศ โดยในระยะแรก รับสัญญาณได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 100 กมจาก กรุงเทพฯ

19. ราคากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล เท่าที่มีการคาดการณ์ ในระยะแรก น่าจะไม่เกิน 2,000 บาท และ ราคาจะลดลง เมื่อมีผู้จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจาก กล่องรับสัญญาณต้องรองรับมาตรฐาณระบบ HD ดังนั้นราคากล่องไม่น่าจะต่ำกว่า 1,000 บาท

20. ทีวีระบบอนาล็อคแบบเก่า คาดว่าจะปิดตัวลงใน 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น เนื่องจาก คาดว่าผู้ให้บริการเก่าจะไม่ต้องการส่งทั้ง สองระบบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง และอีกอย่างระบบเก่าคนก็จะดูน้อยลงเรื่อยๆ

*** หากท่านใด ต้องการซื้อทีวีใหม่เช่น Plasma , LCD , LED ขอให้อดใจรอสักนิด เพราะบริษัทใหญ่ๆ ที่จำหน่ายทีวีก็จะนำทีวีระบบเก่ามาลดราคาลงอย่างมาก เพื่อนำระบบใหม่มาจำหน่ายแทน หากท่านไม่สนใจว่าต้องเป็นทีวีระบบใหม่ ท่านก็สามารถซื้อทีวีระบบเก่า และนำมาต่อเข้ากับกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ได้ เพียงแค่เสียบปลักซ์ไฟเพิ่มอีก 1 เส้นเท่านั้น

ดัดแปลงจาก : http://pantip.com/topic/31441147
กสท.รับรองผลประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง พร้อมให้บริการ 1 เม.ย.
เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2557 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้แถลงผลการประชุม กสท.ว่า ที่ประชุมกสท.ได้มีมติรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอล ทั้ง 4 หมวดหมู่ 24 ใบอนุญาต ซึ่งมีผู้ชนะการประมูลรวม 17 ราย ทั้งนี้จะมีการประกาศรับรองผลการประมูลในเว็บไซต์สำนักงาน กสทช. และส่งหนังสือแจ้งผลการประมูลอย่างเป็นทางการแก่ผู้ชนะการประมูลภายใน 3 วัน เพื่อผู้ชนะการประมูลจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนของสำนักงาน กสทช.ต่อไป โดยการรับรองการประมูลในวันนี้ถือเป็นการสิ้นสุด Silent Period ตามประกาศของ กสทช.และทาง กสท.จะนำเข้าสู่ที่ประชุม กสทช. ในครั้งต่อไป

พ.อ.นที ยังกล่าวว่า ที่ประชุม กสท.ได้เห็นชอบแผนการดำเนินการติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลในปีแรก จำนวน 17 จังหวัด ประกอบด้วย

- กรุงเทพฯ, นครราชสีมา, เชียงใหม่, สงขลา มีกำหนดการให้บริการ 1 เม.ย.2557

- อุบลราชธานี, สุราษฎร์ธานี, ระยอง มีกำหนดการให้บริการ 1 พ.ค.2557

- สิงห์บุรี, สุโขทัย, สุโขทัย, ขอนแก่น, อุดรธานี มีกำหนดการให้บริการ 1 มิ.ย.2557

สำหรับรายชื่อผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอล ประกอบด้วย 1.ช่องทั่วไปความคมชัดสูง (HD) 7 ใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด และบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด

2.ช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) 7 ใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด และบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด

3.ช่องข่าวสารและสาระ 7 ใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค(ทีเอ็นเอ็น) จำกัด บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด และบริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

และ 4.ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว 3 ใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) และบริษัท ไทยทีวี จำกัด

แหล่งที่มา : http://news.springnewstv.tv/

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 
การทดสอบการออกอากาศในระบบดิจิตอล ส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงระบบ Second Generation Digital Terrestrial Television Broadcasting System (DVB-T2)  มี 2 ช่องคลื่น  คือ ช่อง 36 กับ ช่อง 40    ช่องคลื่น 36 ออกอากาศที่ช่อง   ความถี่ 594.0 MHz   มี 8 ช่อง เป็นช่องความละเอียดสูง (HD) 2 ช่องโดย  THAI PBS และ TV5  และ อีก 6 ช่องเป็นช่องความละเอียดปกติ (SD) โดย THAI TPBS, TV 5, TV 9,  NBT, TV 3 และ TV 7  โดยแพร่กระจายสัญญาณโดย TV 5 ผ่านเสาส่งของ THAI PBS ที่ตึกใบหยก 2 ประตูน้ำ  ติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์ออกอากาศระบบ DVB-T2 ( UHF DVB-T2 Transmitters ) ช่อง 36 โดยมี ขนาดของเครื่องส่งโทรทัศน์ 5 KW (rms)  สามารถส่งได้ไกล 200 กิโลเมตร   และช่อง อสมท. ช่องคลื่น 40 ความถี่ 626.0 MHz ออกอากาศจำนวน 5 ช่อง เป็นความละเอียดปกติ  4 ช่องรายการ เป็นความละเอียดสูง 1 ช่องรายการ 

การทดลองส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ขณะนี้มี อสมท. ทดลองส่งสัญญาณอยู่ 1 คลื่นความถี่ 5  ช่อง โดยนำรายการที่ส่งแพร่สัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM  ได้แก่ รายการของความถี่  FM 95, FM 96.50 MHz, FM 97.50 MHz, FM 99.00 MHz, FM 100.50 MHz และFM 107.00 MHz
ภาพที่ 1 แสดงเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์  ระบบ DVB-T2
 
 
 

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล


   ตามที่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ข้อ ๘.๕ และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ข้อ ๕.๖ กำหนดให้มีแผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอลภายใน ๑ ปี
   บัดนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายและจัดทำแผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล โดยมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๕ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เห็นชอบให้ประกาศแผนการเปลี่ยนระบบ การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล ตามความในข้อ ๘.๕ ของแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕) และข้อ ๕.๖ ของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญตามที่แนบท้ายนี้


จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

พันเอก นที ศุกลรัตน์
ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


รายละเอียดของประกาศ
แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล

ความตอนหนึ่ง ในประกาศดังกล่าว

   ในคราวประชุม AMRI ครั้งที่ ๙ ที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้มีมติให้กลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียนใช้ระบบ Digital Video Broadcasting-Terrestrial (DVB-T) เป็นมาตรฐานสำหรับโทรทัศน์
ระบบดิจิตอลร่วมกัน ต่อมาในการประชุม AMRI ครั้งที่ ๑๐ ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ได้มีการกำหนดกรอบเวลาสำหรับการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก
ร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Analogue switch-off (ASO) คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๓

   รวมถึงจะกำหนดมาตรฐานสำหรับกล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) ร่วมกัน เพื่อให้อุปกรณ์มีราคา
ที่ถูกลง และในการประชุม AMRI ครั้งที่ ๑๑ ที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มี
ความเห็นร่วมกันว่ามาตรฐานระบบ Second Generation Digital Terrestrial Television
Broadcasting System ( DVB-T2 ) มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหนือกว่าระบบ DVB-T จึงควรที่
ประเทศสมาชิกจะเลือกใช้
DVB-T2 เป็นมาตรฐานร่วมกัน



ระบบที่ได้ตกลงใช้ร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนคือ  DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบที่ได้พัฒนาต่อจาก DVB-T มาแล้วที่ได้ใช้ในยุโรป  เพียงนำไปต่อขั้นจากสายนำสัญญาณที่ก่อนนำเขาเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนสายอากาศแต่อย่างใด  หากแต่ว่าสายนำสัญญาณยังปกติเท่านั้นพอ   สำหรับสายอากาศบางชนิดก็มีผลต่อการรับสัญญาณด้วย


ภาพที่ 2 แสดงหน้าเมนูการตั่งค่าของเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์  ระบบ DVB-T2
การรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลนั้นต้องทำความเข้าใจว่าแตกต่างจากระบบอะนาล๊อกอย่างสิ้นเชิง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ อาทิ จำนวนช่องรายการต่อความถี่ที่ใช้ได้  ความคมชัดของสัญญาณภาพและเสียง  หากการรับสัญญาณระบบดิจิตอลจะมี 2 แบบ 0 1   คือ รับไม่ได้ กับ รับได้     จะไม่มีแบบภาพที่มีภาพเป็นเงา

การรับสัญญาณภาพในปัจจุบัน  สามารถกระทำได้โดย 1. ซื้อเครื่องรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล  ที่รองรับระบบ DVB-T2  แต่เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ในต่างประเทศปัจจุบันเป็นดิจิตอลกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว  พอกลับมาดูของประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้เปลี่ยนถ่ายไปเป็นดิจิตอล  เครื่องที่จำหน่าย ผู้ผลิตจึงยังต่องเอาชุดเครื่องรับอะนาล๊อกใส่ไว้เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ถึงแม้ระบบจอภาพและเสียงจะรองรับระบบดิจิตอลก็ตาม  จึงขึ้นอยู่ว่าการเปลี่ยนผ่านจากอะนาล๊อกไปสู่ดิจิตอลจะรวดเร็วเพียงใด
2 ใช้ กล่องรับสัญญาณ Set Top Box เพื่อแปลงสัญญาณภาพ แล้วต่อสัญญาณที่แปลงแล้วเข้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์อีกทีหนึ่ง  การทงานของกล่องรับสัญญาณก็จะเป็นตัวรับสัญญาณภาพและแปรสัญญาณภาพและเสียง แล้วจึงส่งให้โทรทัศน์อีกทีหนึ่ง   จึงคล้ายๆกับกล่อง Set Top Box  ที่ใช้รับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียม  เครื่องโทรทัศน์จึงใช้เป็นแค่เพียง จอ  กับ ลำโพงเท่านั้น




ภาพที่ 3  แสดงตัวอย่างสายอากาศเพื่อใช้รับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล
 

สายอากาศ (Antenna) นั้นสามารถใช้ของเดิมได้  เพียงแต่ต้องมีสภาพการใช้งานต่อได้ และต้องเป็นสายอาศที่ใช้รับสัญญาณ UHF ได้ด้วย เพราะของไทยจะใช้ย่าน UHF  โดยระบบดิจิตอล จะใช้ VHF  ย่าน  UHF   และ SHF   แต่ตอนนี้มีการทดลองในย่านความที่ที่เป็นย่าน  UHF เพื่อส่งกระจายคลื่นวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล  และส่งกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอล ทดลองในความถี่ย่าน VHF

สายอากาศ(Antenna)  หรือที่บางคนเรียกผิดเป็นว่า  เสาอากาศ  และเข้าใจว่าสายอากาศเป็นสายนำสัญญาณ  การที่จะเลือกใช้สายอากาศ (Antenna) คำนึงถึงพื้นที่ของเราด้วยว่าอยู่ใกล้ หรือไกลจากสายอากาศ เสาส่ง หรือสายอากาศ เสาส่งของสถานีทวนสัญญาณ  หากอยู่ใกล้ก็ใช้สายอากาศ(Antenna) ชนิดหนวดกุ้ง ก็ใช้ได้แล้ว หากมีอาคารบดบังก็จำเป็นต้องใช้ สายอากาศชนิดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น ชนิด Yagi  เป็นต้น   ถึงแม้จะใช้ชนิด Yagi แล้วแต่ยังมัปัญหา  บางแบบเหมาะสำหรับระยะไกล (100 กิโลเมตรขึ้นไป) แต่ไม่เหมาะกับระยะใกล้ (ไม่เกิน 100โมเมตร)  บางชนิดเหมาะสำหรับระยะปานกลาง  ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย  หลายครั้งที่ผู้จำหน่ายไม่ทราบก็จะเป็นผลเสียกับการรับชมด้วย 


การเลือกใช้สายนำสัญญาณ ปัจจุบันก็จะใช้สายนำสัญญาณ ชนิด  75Ω   RG-6U ซึ่งเป็นสาย  COAXIAL CABLE ชนิดหนึ่ง    "RG-6U"   RG ย่อมาจาก RADIO GUIDE ส่วนตัว U ก็คือ UNIVERSAL หมายถึงการใช้งานทั่วไป บางเอกสาร U=UTILTY หมายถึงตัวเลขตามหลัง เช่น 64, 128 , 144 เส้น   โดยทั่วไปสาย RG-6/U ที่ใช้กันทั่วไปก็ชิลค์ 64 เส้น คุณภาพสูงขึ้นก็ 128 เส้น


Digital TV  ทำงานอย่างไร   ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่  Digital TV มันส่งสัญญาณเป็น Digital เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่มีการบีบอัดข้อมูลให้สามารถส่งข้อมูลได้ดีขึ้น  ทำให้การผิดพลาดลดลง

Digital TV ใช้ใน TV ดาวเทียมมาก่อนภาคพื้นดิน เพราะความถี่นั้นเป็นของผู้ให้บริการดาวเทียม จึงสามารถดำเนินการได้ไวกว่าภาคพื้นดิน  และ โทรศํพท์บอกรับสมาชิกผ่านสาย (Cable TV) แต่ละประเทศก็จะใช้ระบบต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค  แต่ประเทศไทยและอาเชี่ยนเลือกที่จะใช้ DVB ซึ่งเป็นมาตราฐานของยุโรป ซึ่งมีประเทศผู้ใช้ระบบมากที่สุด

ระบบ Digital TV ก็จะมีระบบแบ่งออกดังนี้   DVB ยุคแรก แบ่งเป็น DVB-S (ดาวเทียม), DVB-C (เคเบิ้ล), DVB-T (ออกอากาศภาคพื้น)